วิกิพีเดียเชิงนามธรรม

This page is a translated version of the page Abstract Wikipedia and the translation is 54% complete.
Outdated translations are marked like this.

โครงการ

โครงการนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน: วิกิพีเดียนามธรรม (Abstract Wikipedia) และ วิกิฟังก์ชัน (Wikifunctions)

เป้าหมายของ วิกิพีเดียเชิงนามธรรม คือเพื่อให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นแบ่งปันความรู้ในภาษาต่าง ๆ มากขึ้น วิกิพีเดียนามธรรมเป็นส่วนขยายแนวคิดของวิกิสนเทศ[1] ในวิกิพีเดียนามธรรมผู้คนสามารถสร้างและดูแลรักษาบทความของวิกิพีเดียได้ด้วยวิธีที่ไม่ขึ้นกับภาษา วิกิพีเดียฉบับหนึ่งในภาษาสามารถแปลบทความที่ไม่ขึ้นกับภาษานี้เป็นภาษาของมันได้ โค้ดทำการแปล

วิกิฟังก์ชัน (Wikifunctions) คือโครงการวิกิมีเดียใหม่ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างและดูแลรักษาโค้ด โดยจะมีประโยชน์ในหลาย ๆ ทาง โดยจะมีรายการของชนิดของฟังก์ชันที่ทุกคนสามารถเรียกใช้ เขียน ดูแลรักษา และใช้งาน นั่นรวมไปถึงโค้ดที่ใช้แปลบทความที่เป็นเอกเทศกับภาษาจากวิกิพีเดียนามธรรมไปยังวิกิพีเดียในภาคภาษานั้น ๆ ซึ่งจะทำให้ทุกคนสามารถอ่านบทความในภาษาที่พวกเขาเข้าใจได้ วิกิฟังก์ชันจะใช้ข้อมูลความรู้จากวิกิสนเทศเกี่ยวกับคำและอัตลักษณ์ด้วย

สิ่งนี้จะทำให้เราทุกคนในโลกใบนี้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ซึ่งทุกคนสามารถแบ่งปันความรู้ทั้งหมดได้

ฟังก์ชันคืออะไร?

“ฟังก์ชัน” คือลำดับของชุดคำสั่งในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้สำหรับการคำนวนตามข้อมูลที่ได้รับ ฟังก์ชันเป็นรูปแบบของความรู้ซึ่งสามารถตอบคำถามได้ เช่น จำนวนวันระหว่างวันที่สองวันที่ หรือระยะทางระหว่างสองเมือง ฟังก์ชันที่ซับซ้อนมากขึ้นสามารถตอบคำถามที่ซับซ้อนมากขึ้นได้เช่นกัน อาทิเช่น ปริมาตรของวัตถุสามมิติ ระยะห่างระหว่างดาวอังคารและดาวศุกร์ในวันที่ระบุ หรือเปรียบเทียบว่าสปีชีส์สองชนิดมีชีวิตในช่วงเวลาเดียวกันหรือไม่ เราใช้ฟังก์ชันในการสืบค้นความรู้ในหลากหลายประเภท เช่น ถามคำถามกับเสิร์จเอนจิ้น แม่แบบที่รู้แล้วอย่าง {{convert}} และ {{age}} ในภาษาอังกฤษก็เป็นตัวอย่างของฟังก์ชันที่ใช้ในหลายวิกิพีเดีย เขียนในรูปแบบ wikitext และ Lua และถูกคัดลอกไปในหลายวิกิตามที่ต้องการ

ตัวอย่างฟังก์ชันต่าง ๆ สามารถดูได้ที่ ตัวอย่างฟังก์ชันเริ่มต้น และสามารถดูร่างโดยคร่าวแสดงให้เห็นภาพลักษณ์ของอินเตอร์เฟซที่ แบบจำลองเริ่มต้น

โดยสรุป ฟังก์ชันสร้างการคำนวนจากข้อมูลที่คุณให้ และตอบคำถามที่คุณมีเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ

โครงการใหม่ของวิกิมีเดียนี้จะสร้างไลบรารีของฟังก์ชันซึ่งเขียนโดยอาสาสมัคร เพื่อช่วยตอบคำถามในลักษณะนี้ในหลากหลายภาษา การสร้างไลบรารีของฟังก์ชันของเรา จะทำให้เราสามารถเปิดโอกาสให้ผู้คนเข้าถึงและค้นพบความรู้ที่เข้าถึงได้ฟรีมากยิ่งขึ้นในแนวทางแบบใหม่

วิกิพีเดียนามธรรมคืออะไร

คำอธิบายด้วยภาพของโครงการวิกิพีเดียนามธรรม และวิกิฟังก์ชัน

คำว่า "วิกินามธรรม" นั้นอ้างถึงเป้าหมายระยะยาวของตัวเอง – นั่นคือไลบรารีของฟังก์ชันนี้จะเปิดโอกาสให้สร้างบทความที่เป็นเอกเทศจากภาษา เมื่อชิ้นส่วนต่างๆ ของโครงการนี้เข้าที่แล้ว นั่นหมายถึงว่าวิกิใดๆ ก็ตาม – โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกิที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง – จะสามารถเพิ่มจำนวนบทความในภาษาเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว และหมายถึงผู้ที่แก้ไขบทความสามารถแบ่งปันความรู้จากวัฒนธรรมและบริบทของพวกเขาสู่ผู้ชมที่กว้างขึ้นในระดับโลกได้

วิกิใหม่ของฟังก์ชัน หรือ วิกิฟังก์ชัน จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการเขียนโค้ด เพื่อให้วิสัยทัศน์นี้เป็นไปได้ โดยโครงการในส่วนของวิกินามธรรมจะเริ่มต้นประมาณปี 2022

กล่าวอีกนัยหนึ่ง: เราจะสามารถรวมฟังก์ชันจากวิกิใหม่นี้ ด้วยฐานข้อมูลและข้อมูลทางภาษาศาสตร์จากวิกิสนเทศ เพื่อสร้างประโยคที่เป็นภาษาธรรมชาติในภาษาต่าง ๆ ที่รองรับ ประโยคเหล่านั้นจะสามารถใช้ได้โดยโครงการวิกิพีเดียใดก็ได้ (หรือสถานที่อื่น ๆ ได้เช่นกัน)

ไทม์ไลน์

มีส่วนร่วม

ความเป็นมา

บทความใน Signpost ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิด วัสดุด้านล่าง — เอกสารการวิจัยวิดีโอการพูดคุยซอฟต์แวร์ต้นแบบ — มีรายละเอียดมากมาย นอกจากนี้ยังมีร่างแผนโดยละเอียดสำหรับการพัฒนา Wikilambda

ดูหน้าข้อเสนอเชิงประวัติศาสตร์เพื่อดูรายการสนทนาเอกสารวิดีโอและข้อเสนอที่เทียบเคียงกันได้

Originally, the project was code-named Wikilambda, derived from Lambda calculus. The name is still referenced in the name of Extension:WikiLambda and in the Wikifunctions logo which contains a lambda character.

จุดเด่น ได้แก่ :

อ่านเพิ่มเติม

แผนโครงการ

  1. บทสรุป: ภาพรวมของแผนการโครงการ
  2. ชื่อ: การพูดคุยเกี่ยวกับชื่อของโครงการ
  3. เป้าหมาย: สิ่งที่เรากำลังพยายามที่จะไปให้ถึงคืออะไร? เป้าหมายหลักและเป้าหมายรอง
  4. องค์กร: ทีมพัฒนาจัดตั้งขึ้นอย่างไร
  5. ความต้องการ: เงื่อนไขโดยรวมที่โครงการต้องการที่จะเติมเต็ม
  6. สถาปัตยกรรม: ภาพรวมว่าส่วนประกอบของโครงการจะทำงานร่วมกันอย่างไร
  7. ส่วนประกอบ: ส่วนประกอบของซอฟต์แวร์แต่ละส่วนที่โครงการต้องการขับเคลื่อน
  8. หน้าที่: หน้าที่ต่าง ๆ ที่ต้องการทำให้เสร็จในโครงการ
(เวอร์ชันหน้าเดียว)

อ้างอิง

  1. ส่วนประกอบใหม่ (ระบุไว้ในแผนพัฒนาสำหรับวิกิพีเดียเชิงนามธรรม) ได้แก่ ส่วนขยายไปยังวิกิสนเทศ, ซึ่งการรวมตัวกัน (ในปีที่สองของโครงการ) ต้องการข้อตกลงของชุมชนวิกิสนเทศ, ก่อนที่จะจัดเก็บ “เนื้อหานามธรรม” ไว้ที่นั่นหรือในวิกิอื่น (เช่นวิกิ Wikifunctions, วิกิฟังก์ชัน, ใหม่ที่พัฒนาขึ้นในส่วนแรกของโครงการหรือวิกิอื่นที่พูดได้หลายภาษา).