Translation requests/WMF/Our projects/th

โครงการพี่น้องต่าง ๆ ของมูลนิธิวิกิมีเดียถูกพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของผู้ใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ซอฟต์แวร์ของมีเดียวิกิ การแก้ไขทั้งหมดอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาต GFL (ยกเว้น วิกิข่าว ซึ่งอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ 2.5) ซึ่งหมายความว่าเนื้อหาสามารถใช้ได้ฟรี แก้ไขได้ฟรี คัดลอกได้ฟรี แต่ต้องอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเดียวกัน ดูเพิ่มที่ลิงก์ไปที่โครงการพี่น้องต่าง ๆ

โครงการพี่น้องของวิกิมีเดีย
กรุณาโปรดทราบว่าเว็บไซต์อื่น ๆ อาจจะใช้ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิและอาจจะดูคล้าย ๆ กับโครงการพี่น้องของเรา หรืออาจจะมีชื่อขึ้นต้นด้วย "Wiki-" หรือลงท้ายด้วย "-pedia" หรืออาจจะมีโดเมนเนมที่คล้ายคลีงกัน โครงการพี่น้องที่เป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิวิกิมีเดียมีชื่ออยู่ข้างล่าง

วิกิพีเดีย edit

 
โลโก้ของวิกิพีเดีย

วิกิพีเดียเป็นโครงการที่จะก่อสร้างสารานุกรมเสรีในภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ใครก็ตามที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตสามารถแก้ไขและเขียนได้ โดยการเขียนอย่างเป็นกลาง และอ้างอิงข้อมูล

วิกิพีเดียภาษาอังกฤษเริ่มในเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 ส่วนในภาษาไทยเริ่มในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 และปัจจุบันมีมากกว่า 10 ล้านบทความใน 250 กว่าภาษา วิกิพีเดียที่ใหญ่ที่สุดคือวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ มีทั้งหมดสองล้านกว่าบทความ ตามโดยภาษาเยอรมันและภาษาฝรั่งเศส ซึ่งแต่ละอันมีบทความมากกว่าห้าแสนบทความ รุ่นภาษาอื่น ๆ อีก 9 ภาษามีมากกว่าหนึ่งแสนบทความ และภาษาอื่น ๆ กว่า 100 ภาษามีมากกว่าหนึ่งพันบทความ

ตั้งแต่ที่โครงการเริ่มขึ้นมา ผู้ใช้มากกว่า 100,000 ราย ได้แก้ไขอย่างน้อยที่สุด 10 ครั้ง[1] จำจำนวนบัญชีผู้ใช้ที่ถูกสร้างขึ้นมีทั้งหมด 3.4 ล้านราย อย่างไรก็ตาม การแก้ไขส่วนใหญ่บนรุ่นภาษานั้น ๆ มาจากผู้ใช้จำนวนพันรายเท่านั้นที่อุทิศตัวให้กับวิกิพีเดีย

วิกิพีเดียบางอันนำบทความหรือเนื้อหาของตนเองลงดีวีดี วิกิพีเดียภาษาเยอรมันนำเนื้อหาลงดีวีดีสองครั้งในหนึ่งปี ในความร่วมมือกับ Directmedia Publishing นอกจากนี้วิกิพีเดียภาษาโปแลนด์ยังได้นำเนื้อหาของตนเองลงดีวีดีเช่นกัน

วิกิพจนานุกรม edit

 
โลโก้ของวิกิพจนานุกรม

วิกิพจนานุกรมเป็นโครงการที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างพจนานุกรมเนื้อหาเสรีในทุกภาษา นี่หมายความว่าแต่ละโครงการในแต่ละภาษาจะมีคำใน ทุก ๆ ภาษา ที่จริงแล้วมันมีจุดประสงค์มากกว่าการเป็นพจนานุกรมธรรมดาเล่มหนึ่ง โดยมีคำคล้องจอง คำคล้ายกัน คำแปล การอ่านออกเสียง ฯลฯ โครงการนี้สร้างในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 (วิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษ) และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 วิกิพจนานุกรมมีมากกว่า 100 ภาษา โดยมีคำแปลและอื่น ๆ มากกว่า 3,000,000 คำโดยรวมทั้งหมด วิกิพจนานุกรมภาษาฝรั่งเศสใหญ่ที่สุด ตามโดย ภาษาอังกฤษ ภาษาเวียดนาม และ ภาษาตุรกี ทั้งสี่มีมากกว่า 150,000 คำแปลและอื่น ๆ ในขณะที่อีก 8 ภาษาโดยรวมมีมากกว่า 100,000 คำแปล อีก 61 ภาษามีอย่างน้อย 1,000 คำ

วิกิพจนานุกรมได้ร่วมมือกับวิกิมีเดียคอมมอนส์ ไฟล์เสียงจำนวนมากได้ถูกอัปโหลดที่คอมมอนส์ เพื่อที่จะให้วิกิพจนานุกรมและโครงการอื่น ๆ นำตัวอย่างการออกเสียงไปใช้

วิกิคำคม edit

 
โลโก้ของวิกิคำคม

วิกิคำคมเป็นที่เก็บคำคมต่าง ๆ ที่เอามาจากบุคคลสำคัญ หนังสือ คำปราศัย ภาพยนตร์ หรือวัตถุใด ๆ ที่ทำให้เกิดปัญญาและน่าสนใจ สุภาษิต คำพังเพย คติพจน์ คำขวัญ หรือ คำที่ช่วยกระตุ้นความจำ (mnemonics) ต่างถูกเก็บในวิกิคำคม

โครงการนี้เริ่มในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 และเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 นี้เอง โครงการนี้เก็บคำคม และอื่น ๆ อีก มากกว่า 75,903 หน้าในประมาณ 50 ภาษา วิกิคำคมที่ใหญ่ที่สุดคือวิกิคำคมภาษาอังกฤษ ซึ่งมีมากกว่า 15,000 หน้า ส่วนวิกิคำคมภาษาเยอรมัน อิตาลี และโปแลนด์มีทั้งหมด 50,000 หน้า

วิกิตำรา edit

 
โลโก้ของวิกิตำรา

วิกิตำราถูกตั้งขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะเก็บแหล่งเนื้อหาเสรีที่เป็นอี-บุ๊ค บนอินเทอร์เน็ต รวมไปถึง หนังสือธรรมดา หนังสือเรียนภาษา คู่มือ รวมไปทั้งหนังสือที่เป็นสาธารณสมบัติ โครงการนี้คาดหวังที่จะช่วยนักเรียน และ ครู ในโรงเรียนชั้นอุดมศึกษา มัธยม และ มหาวิทยาลัย

เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 นี้เอง วิกิตำราที่ใหญ่ที่สุดคือวิกิตำราภาษาอังกฤษ โดยมีโมดูลมากกว่า 28,000 โมดูล จากหนังสือต่าง ๆ 3,000 เล่ม ตามด้วยวิกิตำราภาษาเยอรมันและภาษาโปรตุเกส ทั้งสองวิกิมีโมดูลมากกว่า 5,000 โมดูล โครงการนี้เริ่มในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 และขณะนี้มีมากกว่า 84,000 โมดูล จากหนังสือ 5,000 เล่ม จากภาษาทั้งหมดมากกว่า 50 ภาษา

วิกิซอร์ซ edit

 
โลโก้ของวิกิซอร์ซ

วิกิซอร์ซเป็นโครงการหลายภาษา เริ่มตั้งในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 มีจุดประสงค์เพื่อที่จะเก็บสะสมข้อความเก่าและเอกสารต้นฉบับที่เป็นเนื้อหาเสรี นอกจากนี้มันก็ยังไม่ใช่ที่เก็บเรื่องคลาสสิก กฎหมาย กฎษฎีกา ประกาศ และอื่น ๆ เพียงเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้มีการแปลเอกสารต้นฉบับเหล่านี้ ไปในหลาย ๆ ภาษาอีกด้วย โดยเริ่มแรก เอกสารต้นฉบับต่าง ๆ ในทุก ๆ ภาษาอยู่รวมกันในวิกิเดียว (ยกเว้นภาษาฮีบรู) อย่างไรก็ตาม ขณะนี้วิกิซอร์ซมีหลายฉบับในหลายภาษาทั่วโลก

โดยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 วิกิซอร์ซมีเอกสารต้นฉบับทั้งหมด 315,000 เรื่อง ในทุกภาษา วิกิซอร์ซภาษาอังกฤษเป็นวิกิซอร์ซที่ใหญ่ที่สุด มีเอกสารต้นฉบับมากกว่า 140,000 เรื่อง

วิกิสปีชีส์ edit

 
โลโก้ของวิกิสปีชีส์

วิกิสปีชีส์เป็นโครงการเปิดวิกิ ก่อตั้งเมื่อ 14 กันยายน พ.ศ. 2547 มีจุดประสงค์เพื่อที่จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสปีชีส์ต่าง ๆ สำหรับเรื่องวิชาว่าด้วยการแบ่งสัตว์ต่าง ๆ ออกเป็นหลาย ๆ กลุ่ม วิกิสปีชีส์คาดหวังโดยตรงที่จะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ ให้กับผู้ใช้ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือ สนใจในวิทยาศาสตร์ และ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 วิกิสปีชีส์มีข้อมูลมากกว่า 125,000 หน้า

นอกจากนี้วิกิสปีชีส์ยังวางแผนที่จะร่วมมือกับโครงการ Encyclopedia of Life หลังจากที่ประสบความสำเร็จมากกว่านี้

วิกิข่าว edit

 
โลโก้ของวิกิข่าว

โครงการวิกิข่าวถูกเริ่มในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 โดยมีภารกิจที่จะรานงานข่าวเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2551 มีวิกิข่าวฉบับต่าง ๆ ถึง 23 ภาษาด้วยกัน โดยรวมแล้วมีบทความข่าวทั้งหมดมากกว่า 48,000 บทความ (วิกิข่าวบางภาษารวมไปถึงภาษาอังกฤษสามารถรับข่าวผ่าน RSS feeds ได้)

ผู้เขียนจากทั่วทุกมุมโลกเขียนบทความข่าวต่าง ๆ โดยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รายงานมีตั้งแต่รายงานดั้งเดิมและการสัมภาษณ์จนถึงบทสรุปข่าวจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ทั้งหมดนี้ถูกเรียกร้องให้เขียนในมุมมองที่เป็นกลางไม่ลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ปัจจุบันนี้วิกิข่าวมีสองจุดประสงค์ด้วยกัน: ให้ทางเลือกเนื้อหาเสรีสำหรับเว็บไซต์ข่าวเชิงพาณิชย์ และ ทำให้แน่ใจว่าบทความต่าง ๆ ที่เขียนเป็นความจริงและถูกตรวจสอบอย่างละเอียดลออแล้ว

วิกิวิทยาลัย edit

 
โลโก้ของวิกิวิทยาลัย

วิกิวิทยาลัยเป็นโครงการที่อุทิศให้กับสื่อการเรียนรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้ เช่นเดียวกับการวิจัย มันถูกจัดตั้งขึ้นเป็นโครงการวิกิมีเดีย (ในระยะ 'เบต้า') เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยมีวิกิพีเดียภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน รวมทั้งศูนย์กลางการประสานงานหลายภาษา ตั้งแต่นั้นมา วิกิพีเดียเหล่านี้ก็ได้เข้าร่วมกับวิกิพีเดียภาษาฝรั่งเศส กรีก อิตาลี และสเปน แม้ชื่อจะสื่อความหมายอย่างไร แต่วิกิวิทยาลัยไม่ได้จำกัดเฉพาะเนื้อหาในระดับมหาวิทยาลัย (หรือระดับอุดมศึกษา) แต่เปิดกว้างสำหรับเนื้อหาและชุมชนของผู้เรียนทุกระดับ วิธีที่จะสามารถอำนวยความสะดวกในกิจกรรมการเรียนรู้และชุมชนยังคงอยู่ในการสำรวจ แต่เน้นที่รูปแบบ 'การเรียนรู้โดยการทำ' หรือ 'การเรียนรู้จากประสบการณ์'

วิกิมีเดียคอมมอนส์ edit

 
โลโก้ของวิกิมีเดียคอมมอนส์

วิกิมีเดียคอมมอนส์เปิดตัวในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 เพื่อให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลกลางสำหรับภาพถ่าย แผนภาพ แผนที่ วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ดนตรี เสียง ข้อความพูด และสื่อเสรีอื่น ๆ ฟรี เป็นโครงการหลายภาษาที่มีผู้ร่วมให้ข้อมูลที่พูดได้หลายภาษา ซึ่งทำหน้าที่เป็นพื้นที่เก็บข้อมูลส่วนกลางสำหรับโครงการวิกิมีเดียทั้งหมด

โครงการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 มีไฟล์มัลติมีเดียถึง two million ไม่ถึงหนึ่งปีหลังจากที่ไปถึง one million Wikimedia Commons ได้รับการกล่าวถึงกิตติมศักดิ์สำหรับ Digital Community จากงาน Prix Ars Electronica ประจำปี 2548 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548

โครงการนี้มีกลไกที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน 2 กลไกเพื่อเน้นการมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพ: Featured pictures ซึ่งรับทราบความสำคัญของการครอบตัด และ Quality images ซึ่ง รู้จักการสร้างสรรค์ที่เรียบเรียงอย่างดีโดยบรรณาธิการ Wikimedia ตั้งแต่ปี 2549 มีการจัดการแข่งขัน Picture of the Year ซึ่งเชื้อเชิญชุมชน Wikimedia ที่กว้างขึ้นให้เข้าร่วมในการเฉลิมฉลองภาพเนื้อหาฟรีที่สร้างแรงบันดาลใจ สองหน้า Meet our photographers และ Meet our illustrators นำเสนอผู้มีส่วนร่วมที่มีทักษะสูงที่ได้รับการคัดสรรซึ่งเลือกใช้สิทธิ์ใช้งานเนื้อหาฟรี และบริจาคผลงานของพวกเขาให้กับ Wikimedia Commons

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอมมอนส์โปรดดู Spotlight on Wikimedia Commons


โครงการที่เกี่ยวข้อง edit

มีเดียวิกิ edit

 
โลโก้ของมีเดียวิกิ

มีเดียวิกิเป็นวิกิ ที่อยู่ใต้สัญญอนุญาต GPL ซอฟต์แวร์ของมีเดียวิกิถูกใช้ในทุก ๆ โครงการของวิกิมีเดียและเว็บไซต์อื่น ๆ อีกมากมาย

ในปี พ.ศ. 2548 มีเดียวิกิชนะรางวัล Les Trophées du Libre ในหมวด รางวัลพีเฮชพีพิเศษ ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา มีเดียวิกิถูกใช้ในเว็บไซต์จำนวนมากมายหลากหลายเว็บทั่วโลก และถูกดาวน์โหลดมากกว่า 1 ล้านครั้งจาก โครงการ SourceForge

ดูที่ มีเดียวิกิ มีเดียวิกิ บน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี หรือ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อ้างอิง edit

  1. ไม่สามารถทราบได้ว่ามีผู้ใช้กี่คนที่สร้างบัญชีบนโครงการหลายอย่าง ๆ ในขณะเดียวกัน