Fundraising 2011/FAQ/th
Pages for translation: [edit status] | |||||||||
Interface messages high priority Translated on Translatewiki. Get started. |
In progress | ||||||||
Banners and LPs (source) high priority |
Published | ||||||||
Banners 2 (source) high priority |
Needs proofreading | ||||||||
Jimmy Letter 002 (source) high priority |
Published | ||||||||
Jimmy Letter 003 (source) variation of Jimmy Letter 002 |
Published | ||||||||
Jimmy Letter 004 (source) variation of Jimmy Letter 002 |
Needs proofreading | ||||||||
Jimmy Mail (source) variation of Jimmy Letter 002 |
Needs proofreading | ||||||||
Brandon Letter (source) | Published | ||||||||
Alan Letter (source) | Published | ||||||||
Kaldari Letter (source) | Published | ||||||||
Karthik Letter (source) | Missing | ||||||||
Thank You Mail (source) | Published | ||||||||
Thank You Page (source) | Needs proofreading | ||||||||
Problems donating (source) | Needs proofreading | ||||||||
Recurring giving (source) | Needs proofreading | ||||||||
Sue Thank You (source) | Missing | ||||||||
FAQ (source) low priority |
Needs proofreading | ||||||||
Various requests: Mail to past donors · Jimmy quote | |||||||||
Outdated requests:
|
Translation instructions |
---|
If you have any questions or feedback regarding the translation process, please post them here. Translation FAQ |
โดยสรุปแล้ว วิกิพีเดียคืออะไร? และอะไรคือวิกิมีเดีย?
editวิกิพีเดีย (www.wikipedia.org) คือสารานุกรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก เป็นสารานุกรมออนไลน์ ใช้ฟรี และปลอดโฆษณา วิกิพีเดียมีบทความที่เขียนขึ้นโดยอาสาสมัครมากกว่า 47 ล้านเรื่อง ในภาษาต่างๆ มากกว่า 298 ภาษา มีผู้เข้าเยี่ยมชมในแต่ละเดือนมากกว่า 430 ล้านคน ซึ่งทำให้มันเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของโลก
วิกิพีเดียคืองานที่สร้างสรรค์ร่วมกันโดยผู้คนหลายล้านคนตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา : ใครๆ ก็สามารถแก้ไขข้อความได้ และแก้ไขเมื่อใดก็ได้ มันจึงเป็นสถานที่แบ่งปันข้อมูลความรู้ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ผู้คนที่สนับสนุนวิกิพีเดียผูกพันไว้ด้วยความรักในการเรียนรู้ ความสงสัยใคร่รู้อันเฉลียวฉลาด และความตระหนักว่าเราสามารถมีความรู้มากขึ้นหากทำงานร่วมกัน แทนที่จะทำโดยลำพัง
มูลนิธิวิกิมีเดียเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่บริหารวิกิพีเดียกับโครงการพี่น้องอื่นๆ เมื่อรวมกันทั้งหมด เว็บไซต์เหล่านี้จึงเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก มูลนิธิวิกิมีเดียเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรซึ่งมีสำนักงานในซานฟรานซิสโก แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และได้รับยกเว้นภาษีภายใต้มาตรา 501(c)(3) ของกฎหมายภาษีท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกา (ตั้งแต่ ปี 2005) ซึ่งทำให้มีสถานะเป็นองค์กรการกุศล คุณสามารถตรวจดู จดหมายแจ้งยกเว้นภาษี และ รายงานทางการเงินและเอกสารประจำปีของเราได้
ภารกิจของเราคือทำให้ชุมชนอาสาสมัครทั่วโลกสามารถรวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้ของโลกได้ และทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย เราทำงานร่วมกันกับเครือข่ายแชปเตอร์ต่างๆ ในหลายประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้
ถ้าฉันบริจาคให้วิกิมีเดีย เงินเหล่านั้นจะไปที่ไหน?
editเงินที่คุณบริจาคจะนำไปใช้จ่ายเป็นเงินเดือนพนักงานและค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยี ถึงแม้วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องทั้งหลายจะมีผู้เข้าใช้งานมากกว่า 430 ล้านคนต่อเดือน แต่เรามีพนักงานเพียง 302 คนเท่านั้น ดูข้อมูล staff ของเราได้
พนักงานของเราแบ่งออกเป็นสามฝ่าย : เทคโนโลยี (การดำเนินการของเว็บไซต์ การพัฒนาซอฟต์แวร์), ชุมชน (การเข้าถึงสาธารณะ โครงการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อ่านและชุมชน การระดมทุน), และการพัฒนาโดยรวมทั้งโลก (สนับสนุนโครงการแชปเตอร์ และการเติบโตของวิกิมีเดียทั้งโลก) พนักงานส่วนที่เหลือของเราทำงานด้านบริหาร การเงิน และธุรการทั่วไป รวมถึงการปกป้องงานของเราทางกฎหมาย การสนับสนุนจากคุณยังนำไปใช้จ่ายค่าเซิร์ฟเวอร์ แบนด์วิธ และอินเตอร์เน็ตโฮสติ้ง ซึ่งทำให้เราสามารถดำเนินโครงการของวิกิมีเดียรวมถึงการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ถ้าคุณบริจาคให้แก่แชปเตอร์ท้องถิ่นในภูมิภาคของคุณ การบริจาคของคุณจะสนับสนุนทั้งมูลนิธิวิกิมีเดีย และโครงการกิจกรรมต่างๆ ในประเทศของคุณด้วย
เหนืออื่นใด มูลนิธิวิกิมีเดียดำรงอยู่เพื่อสนับสนุนและแผ่ขยายเครือข่ายอาสาสมัครขนาดมหึมา ผู้เขียนและแก้ไขบทความให้แก่วิกิพีเดียและโครงการพี่น้อง อาสาสมัครเหล่านี้มีจำนวนมากกว่า 100,000 คนทั่วโลก
ฉันจะหาข้อมูลทางการเงินเพิ่มเติมได้ที่ไหน?
editรายงานประจำปี 2009–2010 มูลนิธิวิกิมีเดีย ครอบคลุมปีงบประมาณที่แล้ว (1 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 ถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2010) พร้อมการประเมินปีถัดไป นี่เป็นรายงานประจำปีฉบับที่ 3 ของเรา รายงานประจำปีของมูลนิธิวิกิมีเดียคือการสรุปรายละเอียดทางการเงินขององค์กร กิจกรรมต่างๆ เป้าหมาย และความสำเร็จขององค์กร
แผนงานประจำปี 2011-12 คือแผนงบประมาณของเราสำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน ประกอบด้วยสรุปเป้าหมายทางกลยุทธ์ของเรา รายละเอียดการใช้จ่ายและรายรับ และการวิเคราะห์ความเสี่ยง
คลิกที่ภาพข้างล่างนี้เพื่อดาวน์โหลดสำเนารายงานประจำปีหรือแผนงานประจำปีของเรา
File:2011-12 Wikimedia Foundation Plan FINAL FOR WEBSITE .pdf | |
ดาวน์โหลดรายงานประจำปี 2009-2010 (ภาษาอังกฤษ): |
ดาวน์โหลดแผนงานประจำปี 2011-2012 (ภาษาอังกฤษ): |
แผนงานของคุณคืออะไร? จะเดินหน้าไปทิศทางไหน?
editดังที่จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิมีเดียกล่าวไว้ : "จินตนาการถึงโลกที่มนุษย์ทุกคนสามารถแบ่งปันความรู้ทั้งหมดกันได้อย่างเสรี"
เราเอาจริงเอาจังกับวิสัยทัศน์นี้ ทุกๆ เดือน ผู้คนกว่า 430 ล้านคนทั่วโลกกำลังใช้งานวิกิพีเดีย ซึ่งสามารถใช้งานออนไลน์ได้ ผ่านเครื่องมือสื่อสารของคุณ ผ่านดีวีดี หนังสือ หรือรูปแบบอื่นๆ เราหวังจะเข้าถึงคนทุกคน และมอบข้อมูลที่ดีขึ้นและมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้วยการสนับสนุนจากกระบวนการวางแผนที่ขับเคลื่อนอย่างเข้มข้นโดยชุมชน ปี ค.ศ. 2010 คณะกรรมการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดียได้ตั้ง "เป้าหมายอันยิ่งใหญ่ ยากลำบาก และกล้าหาญ" แก่วิกิมีเดีย เป้าหมาย 5 ปีข้างหน้า (PDF) นี้รวมไปถึงการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงวิกิมีเดียทั่วโลกเป็นหนึ่งพันล้านคน และจำนวนบทความในวิกิพีเดียเป็น 50 ล้านเรื่อง เรายังมีเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนการมีส่วนร่วม และการตรวจวัดและปรับปรุงคุณภาพของเนื้อหาในวิกิมีเดียทั้งหมด
วิกิมีเดียไม่ใช่องค์กรแบบยุคเก่า มันเป็นขบวนการเคลื่อนไหวระดับโลก แกนหลักของงานผลิตโดยอาสาสมัครหลายหมื่นแสนคนทั่วโลก ชุมชนอาสาสมัครเหล่านี้สนับสนุนโดยเครือข่ายองค์กร ซึ่งมีมูลนิธิวิกิมีเดียเป็นแกนกลาง ทำงานร่วมกันกับแชปเตอร์ท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ 37 ภูมิภาคหรือประเทศ ด้วยชุมชนอาสาสมัครเหล่านี้จึงช่วยให้เราสามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยเงินสนับสนุนเพียงเล็กน้อย
ต่อไปนี้คือกิจกรรมบางส่วนซึ่งเรากำลังมุ่งความสนใจในปัจจุบัน:
ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 5 ของโลก วิกิมีเดียจำเป็นต้องบริหารอย่างยอดเยี่ยมเพื่อรักษาเว็บนี้ไว้ ในปี 2011 เรามีเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องดูแลหลายร้อยเครื่องตั้งอยู่ที่สถานที่ต่างกัน 3 แห่ง ขณะที่แทรฟฟิกรวมทั่วโลกกำลังเติบโต เป้าหมายของเราคือทำให้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้อย่างดีที่สุดจากคนทั่วโลก ทำให้เวลาเปิดใช้งานสูงที่สุด และให้มั่นใจว่าข้อมูลทั้งหมดในโครงการวิกิมีเดียปลอดภัยเรียบร้อยดี
ภาพ: เซิร์ฟเวอร์ของวิกิมีเดียที่ศูนย์โฮสติ้งฟลอริดา | |
สร้างเครื่องมือที่ดีที่สุดเท่าที่ทำได้เพื่อช่วยงานอาสาสมัครของวิกิมีเดีย เทคโนโลยีหลักที่ทำให้วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องเป็นไปได้ คือ วิกิ ซึ่งคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1995 มีการเปลี่ยนแปลงไปมากหลังจากนั้น โครงการวิกิมีเดียดำเนินการบนซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ชื่อว่า มีเดียวิกิ (MediaWiki) ซึ่งเราพัฒนาขึ้นเอง เป้าหมายของเราคือทำให้มันง่ายเท่าที่ทำได้เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ และเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมให้แก่อาสาสมัครกับผู้อ่านในการเข้าถึงและร่วมพัฒนาบทความอย่างมีคุณภาพ บางส่วนเราก็คิดค้นขึ้นใหม่ อย่างน้อยที่สุดเราต้องพยายามรักษาตัวให้อยู่ในเทรนด์ของโลกเว็บไซต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากซอฟต์แวร์ของเราเป็นโอเพนซอร์ส ทุกคนจึงสามารถใช้งานและร่วมพัฒนาได้ ภาพ: แผนภาพความเกี่ยวพัน แสดงความสัมพันธ์ของโครงการวิจัยการใช้งานวิกิพีเดีย | |
สร้างทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับอาสาสมัครมือใหม่ วิกิมีเดียเกิดจากคน การสร้างชุมชนทั่วโลกให้เติบโต เราจำเป็นต้องกระตุ้นพวกเขาให้เข้ามามีส่วนร่วม และช่วยพวกเขาเมื่อเริ่มต้นใช้งานช่วงแรก เราจึงได้พัฒนาห้องสมุดที่บรรจุทรัพยากรมากมายเช่น วีดิโอ และภาพหน้าจอ รวมถึง "ฮาว-ทู" แบบที่พิมพ์ออกมาได้ และทรัพยากรเป้าหมายอื่นๆ อีกมาก (สำหรับคุณครู บรรณารักษ์ นักเรียน และอื่นๆ) ดูที่ ตู้ทรัพยากรของเรา วีดิโอ: อาสาสมัครวิกิมีเดียพูดถึงแรงผลักดันของตน ถ่ายทำจากการประชุมวิกิมาเนีย 2010 (แสดงผลดีที่สุดบนไฟร์ฟอกซ์) | |
จัดกิจกรรมการประชุมต่างๆ ทั่วโลก อาสาสมัครวิกิมีเดียทั่วโลกหลายร้อยคนจะมาพบกันปีละครั้งในการประชุม วิกิมาเนีย (Wikimania) โดยเปลี่ยนสถานที่ประชุมไปทั่วโลกในแต่ละปี (คุณควรมาร่วมด้วย! ฤดูร้อนปี 2012 วิกิมาเนียจะจัดที่วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ส่วนแชปเตอร์ของวิกิมีเดียก็จัดกิจกรรมเสริมหลายสิบครั้งทั่วโลก ทั้งการประกวดแข่งขันและการประชุมสัมมนา บางงานมีเป้าหมายไปที่อาสาสมัครมือใหม่ บางงานจัดพื้นที่ให้ทบทวนผลงาน คุณค่าของผู้คนที่มารวมตัวกันนั้นเนื่องจากพวกเขามีแรงผลักดันมุ่งมั่นในพันธกิจของวิกิมีเดีย ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของเรา ภาพ: ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน "Free Your Knowledge" ระดับนักเรียนนักศึกษาในอินโดนีเซีย กำลังฟังพรีเซนเตชั่นแนะนำโครงการ (2010) | |
ร่วมมือกับสถาบันทางวัฒนธรรมต่างๆ ห้องภาพ ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ องค์กรเหล่านี้ปกปักรักษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิทยาการของโลก พันธกิจของพวกเขาคือการรักษาและทำให้สาธารณะชนรับรู้ เช่นเดียวกันกับวิกิมีเดีย เราได้ร่วมมือกับสถาบันทางวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลก - ไม่เพียงทำงานร่วมกับพวกเขาในการแปลงข้อมูลเป็นดิจิตัลฟรีๆ แต่ยังช่วยพัฒนาบทความของวิกิพีเดียและเนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสะสมของพวกเขา วิกิมีเดียแชปเตอร์มีบทบาทสำคัญในการจัดการประชุมร่วมกันโดยมีเป้าหมายที่ภาควัฒนธรรม และทำให้เกิดความร่วมมือกันขึ้น
ภาพ: อาสาสมัครวิกิพีเดียในกิจกรรม "backstage pass" จัดโดยบริติชมิวเซียม (2010) | |
ทำงานร่วมกับภาคการศึกษา ในยุคของเว็บเปิด มีโครงการนักศึกษามากมายที่มีศักยภาพมากกว่าจะเป็นแค่แบบฝึกหัด อาจารย์หลายคนมอบหมายให้นักศึกษาเขียนงานส่งในวิกิพีเดีย ทุกฝ่ายล้วนได้ประโยชน์: นักศึกษามีผู้รับชมผลงานของเขาจริงๆ อาจารย์สร้างแรงผลักดันให้นักศึกษาได้สำเร็จ และผู้อ่านก็มีบทความดีๆ เพิ่มขึ้น วิกิมีเดียแชปเตอร์ยังขยายความร่วมมือออกไปยังโรงเรียนเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้และส่งเสริมการใช้งานวิกิพีเดียอย่างมีเหตุผลในชั้นเรียน
ภาพ: นักศึกษาในชั้นเรียน การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ของ แบร์รี่ รูบิน มหาวิทยาลัยอินเดียนา กำลังพัฒนาบทความในวิกิพีเดียเพื่อส่งเป็นชิ้นงาน | |
ทำให้วิกิพีเดียสามารถเข้าถึงได้จากทุกหนทุกแห่ง ในอนาคตผู้คนนับพันล้านคนจะเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ บางคนอาจไม่เคยแตะต้องแลปท็อปเลยด้วยซ้ำ เราจำเป็นต้องมั่นใจว่าเว็บไซต์และบริการของเราสามารถทำงานได้บนสมาร์ทโฟนยุคใหม่ รวมถึงอุปกรณ์ปลายทางอื่นๆ (ถ้าเป็นไปได้) เวอร์ชั่นโมบายล์ของเราในปัจจุบันเป็นเพียงการเริ่มต้น และเราจะยังคงพัฒนาต่อไป (รวมถึงการข้ามให้พ้นประสบการณ์แบบอ่านอย่างเดียว) สำหรับคนที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตหรือไม่สะดวก เราจัดทำสำเนาวิกิพีเดียเพื่อให้สามารถใช้งานแบบออฟไลน์ได้อย่างสมบูรณ์ รวมถึงโครงการอื่นๆ เช่น the WikiReader, การอ่านแบบออฟไลน์บนเครื่องพีซีหรือสมาร์ทโฟน และเนื้อหาอื่นของวิกิมีเดียแบบที่พิมพ์ออกมาได้ ภาพ: วิกิพีเดียเวอร์ชั่นโมบายล์ ทำงานบนเครื่องเพลย์สเตชั่นแบบพกพา - รวมถึงบนสมาร์ทโฟนของคุณ | |
ให้ข้อมูลแก่ผู้ตัดสินใจของเรา ผลการวิเคราะห์ ผลการวิจัย การทดลอง และการคาดการณ์อนาคตเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ตัดสินใจได้ดีในระบบอันซับซ้อนอย่างวิกิมีเดีย Wikimedia Foundation Report Card และ Statistics Portal จะให้ข้อมูลการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งและทันสมัย ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจผลกระทบจากงานของเรา Strategy Wiki คือพื้นที่สำหรับวางแผนสาธารณะ โดยสามารถวิเคราะห์แนวโน้มในระยะยาวได้ โครงการวิจัยทำให้เรามีข้อมูลการวิเคราะห์และทดลองอย่างลึกซึ้ง สนับสนุนโดยการทำงานของคณะกรรมการวิจัยซึ่งเป็นอาสาสมัคร เราเป็นพวกบ้าข้อมูล - คุณหวังจะเห็นอะไรจากคนที่ชอบทำงานบนสารานุกรมออนไลน์ละ? ภาพวาด: การคาดการณ์แนวโน้มเกี่ยวกับเวอร์ชั่นภาษาที่ใช้ได้และมีประโยชน์ต่อภาคส่วนต่างๆ กันของประชากรโลก |
มูลนิธิวิกิมีเดียไม่ใช่บริษัทเพิ่งตั้งใหม่ที่จะสูญสลายไปในเวลาไม่กี่ปี เราได้ฟันฝ่ามาเป็นเวลานานแล้ว ทุกสิ่งที่เราทำมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คุณและทุกคนในโลก สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ทั้งปวงของโลกได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โปรดร่วมกันกับเรา!
คุณให้การสนับสนุนโปรเจ็กต์ไหนบ้าง?
editมูลนิธิวิกิมีเดียให้การสนับสนุนวิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์ และเว็บไซต์ 1 ใน 5 อันดับที่มีผู้เข้าใช้งานมากที่สุดในโลก นับแต่ก่อตั้งวิกิพีเดียเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2001 และเข้าร่วมในมูลนิธิวิกิมีเดียในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2003 เราก็เติบโตอย่างน่าตื่นตะลึง วิกิพีเดียภาคภาษาอังกฤษซึ่งเป็นโครงการแรกของเรา ได้ขยายตัวขึ้นจนมีบทความมากกว่า 6,000,000 บทความในปัจจุบัน เมื่อรวมวิกิพีเดียทุกภาษาเข้าด้วยกัน เรามีจำนวนบทความมากกว่า 47,000,000 เรื่อง
นอกเหนือจากวิกิพีเดีย มูลนิธิวิกิมีเดียยังสนับสนุน:
- Wikimedia Commons แหล่งรวบรวมสื่อข้อมูลมากกว่า 43,000,000 ชิ้นที่สามารถนำไปใช้งานได้ฟรี ทั้งภาพ วีดีโอ และไฟล์เสียง
- Wikibooks โครงการสร้างตำราฟรี
- Wiktionary พจนานุกรมหลายภาษา
- Wikisource ห้องสมุดเก็บบันทึกข้อมูลต้นฉบับต่างๆ ซึ่งมีมากกว่า 3,200,000 หน้า ใน 49 ภาษา
- Wikinews เว็บไซต์ข่าวประชาชน
- Wikiversity แพลตฟอร์มการเรียนรู้แบบอินเตอร์แอคทีฟ
- Wikiquote แหล่งรวบรวมคำคม
- Wikispecies สารบัญรายชื่อสิ่งมีชีวิตบนโลก
เราเป็นผู้นำและสนับสนุนการพัฒนา MediaWiki ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์วิกิแบบโอเพนซอร์สที่ทำงานอยู่เบื้องหลังเว็บไซต์ของเราทั้งหมด เราช่วยจัดทำกิจกรรมชุมชนและการเข้าถึงทรัพยากรของเราเพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้ามีส่วนร่วมในโครงการของเราได้ นอกจากนี้เรายังสร้างเนื้อหาจากวิกิพีเดีย แบบออฟไลน์ที่สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ และ database archives
มูลนิธิวิกิมีเดีย ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับวิกิลีกส์
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหน้า โครงการของเรา
คุณมีวิธีทำให้วิกิพีเดียคงความสมดุลระหว่างการเปิดอย่างเสรี กับการทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นอย่างไร?
editเราเชื่อว่าการเพิ่มพูนการมีส่วนร่วมจะทำให้วิกิพีเดียดีขึ้น ในขณะเดียวกัน เราต้องรักษามาตรฐานอันเข้มงวดที่ทำให้วิกิพีเดียเป็นที่น่าเชื่อถือสำหรับนักวิทยาศาสตร์, นักวิชาการ, นักข่าว, และ มูลนิธิต่างๆ
มูลนิธิวิกิมีเดียดำเนินการอย่างไร?
editมูลนิธิวิกิมีเดียมีพนักงาน 302 คน นำโดย Executive Director ซู การ์ดเนอร์ พนักงานทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครหลายแสนคนซึ่งพัฒนาเนื้อหาให้แก่โครงการวิกิมีเดีย มูลนิธิวิกิมีเดียยังได้รับการสนับสนุนจากอาสาสมัครอีกนับไม่ถ้วนผ่านทางคณะกรรมการต่างๆ หรือในสถานการณ์ เฉพาะกิจ
คณะกรรมการบริหารประกาศถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจอันชัดแจ้งของมูลนิธิวิกิมีเดีย พวกเขาตรวจสอบและช่วยเหลือเพื่อพัฒนาแผนระยะยาว การมองภาพรวม และสนับสนุนการระดมทุนของมูลนิธิวิกิมีเดีย นับเป็นคณะทำงานที่มีอำนาจสูงสุดของมูลนิธิวิกิมีเดียตามที่ระบุไว้ในระเบียบ ดูบันทึกการประชุมของคณะกรรมการที่เผยแพร่ และมติจากที่ประชุมกรรมการ คณะกรรมการจะได้รับเลือกตั้งบางส่วนจากชุมชนของผู้ร่วมพัฒนาในโครงการของวิกิมีเดีย และอยู่ภายใต้การสนับสนุนของคณะกรรมการที่ปรึกษาซึ่งมีแองเจลา บีสลีย์ สตาร์ลิง เป็นประธาน
สำนักงานของเราตั้งอยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา พนักงานของเราส่วนใหญ่ทำงานที่นี่ ส่วนคณะกรรมการทุกคนและพนักงานบางส่วนจะทำงานแบบรีโมท
เราพยายามอย่างยิ่งที่จะทำงานโดยไม่ต้องปรากฏตัวตน และได้เผยแพร่นโยบายหลัก และ ข้อมูลทางการเงิน
มูลนิธิวิกิมีเดียหาเงินทุนอย่างไร?
editวิกิมีเดียได้รับทุนสนับสนุนหลักผ่านทางการบริจาคโดยคนทั่วไปนับแสนคน และยังได้รับสนับสนุนเครื่องเซิร์ฟเวอร์และโฮสติ้งด้วย (ดูรายชื่อผู้สนับสนุน)
มูลนิธิวิกิมีเดียได้รับบริจาคจากประเทศต่างๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก เงินบริจาคโดยเฉลี่ยค่อนข้างน้อย แต่ด้วยจำนวนที่มากมายจึงทำให้เราสามารถทำสำเร็จได้ มีผู้บริจาคเงินให้เราตลอดทั้งปี ส่วนการระดมทุนอย่างเป็นทางการ มูลนิธิวิกิมีเดียจะจัดขึ้นปีละครั้ง
เราไม่รับเงินเพื่อการโฆษณา
มูลนิธิวิกิมีเดียได้รับยกเว้นภาษีในสหรัฐอเมริกาตามมาตรา 501(c)(3) การบริจาคจากประเทศอื่นอาจได้รับลดหย่อนภาษีด้วยก็ได้ ดูรายละเอียดที่การขอลดหย่อนภาษีเงินบริจาค คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดการบริจาคผ่าน PayPal, MoneyBookers หรือทางไปรษณีย์ วิธีการบริจาคแบบอื่น โปรดติดต่อเราผ่าน donatewikimedia.org
คุณหวังว่าจะได้รับเงินบริจาคเป็นจำนวนเท่าไร?
editแผนรายได้ปี 2011-12 คือ 29.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 24% จากรายได้ในช่วงปี 2010-11 ที่ 23.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมด้านการเงินของเราที่ รายงานทางการเงิน หน้าอื่นที่เกี่ยวข้องคือ แผนปี 2011-12 (PDF) และ รายการคำถาม-คำตอบ
ใครสนับสนุนคุณในเป้าหมายนี้บ้าง?
editเงินทุนส่วนใหญ่มาจากบุคคลธรรมดา - ผู้คนเช่นคุณ เราได้รับเงินสนับสนุนจากชุมชนและมูลนิธิเอกชนด้วย รวมถึงความช่วยเหลืออื่นๆ จากองค์กรธุรกิจ ดูในรายชื่อผู้สนับสนุนของเรา
ฉันจะหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมล่าสุดของคุณได้ที่ไหน?
editสำหรับปีงบประมาณ 2009-10 โปรด ดาวน์โหลดรายงานประจำปี 2009-2010: PDF version (5.0 MB)
หากคุณต้องการติดตามข่าวสารจากวิกิมีเดีย ขอแนะนำแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
- บล็อกของมูลนิธิวิกิมีเดีย
- Planet Wikimedia รวมถึงบล็อกชุมชนวิกิมีเดีย
- จดหมายข่าว Wikimedia Announcements รวมถึงประกาศข่าวสารจากแชปเตอร์และสมาชิกชุมชน
ฉันจะบริจาคอย่างไร?
editหากต้องการบริจาค ไปที่ เพจระดมทุนของเรา คุณสามารถบริจาคผ่านบัตรเครดิตหลัก (เช่นวีซ่า, มาสเตอร์การ์ด, ดิสคัฟเวอร์ หรืออเมริกันเอ็กซเพรส), PayPal, Moneybookers, โอนผ่านธนาคาร หรือส่งเช็คมายังมูลนิธิก็ได้ การบริจาครองรับหลายสกุลเงิน แม้ไม่ครบทุกสกุลก็ตาม
ฉันจะบริจาคเป็นรายเดือนโดยอัติโนมัติได้หรือไม่?
editได้ มูลนิธิวิกิมีเดียสนับสนุนการบริจาคเป็นรายเดือน - คุณสามารถสมัครได้โดยไปที่หน้านี้ การบริจาครายเดือนดำเนินการผ่าน PayPal แต่อาจรับเงินผ่านกระบวนการชำระเงินอื่นๆ ของทางเว็บนั้นได้ซึ่งรวมถึงบัตรเครดิตด้วย คุณจำเป็นต้องมีแอคเคาน์ใช้งานที่ PayPal ก่อน การบริจาคจะเกิดขึ้นเดือนละครั้งทุกๆ วันครบรอบหลังจากคุณบริจาคครั้งแรก ไปเรื่อยๆ จนครบ 12 เดือน ในเดือนที่ 12 คุณจะได้รับจดหมายแจ้งเพื่อขอยืนยันการบริจาคต่อไป หากคุณไม่ต้องการรบริจาคต่อ ก็ไม่ต้องทำอะไร การบริจาคจะไม่ต่ออายุอัตโนมัติ ถ้าคุณต้องการบริจาคต่ออีก 1 ปี ให้ดำเนินการตามคำแนะนำในจดหมายนั้น
คุณจะถอนเงินจากบัญชีธนาคารของฉันเป็นรายเดือนได้โดยตรงหรือไม่?
editมูลนิธิวิกิมีเดียไม่สามารถถอนเงินจากบัญชีธนาคารของคุณโดยตรงได้ แต่คุณอาจใช้แอคเคาน์ของ PayPal ทำเช่นนั้นได้ ดูคำแนะนำล่าสุดได้จาก PayPal
ถ้าฉันต้องการยกเลิกการบริจาครายเดือนอัตโนมัติ จะทำอย่างไร?
editเราเข้าใจดีว่าสถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าคุณต้องการยกเลิกการบริจาครายเดือน ให้ล็อกอินแอคเคาน์ของ PayPal ไปที่หัวข้อ "subscription creation" คลิกที่ "details" จากนั้นคลิกที่ "cancel subscription" หลังจากนั้นคุณจะไม่ต้องจ่ายเงินรายเดือนอีก อีกวิธีหนึ่งคือคุณสามารถยกเลิกได้โดยติดต่อมูลนิธิวิกิมีเดีย (ส่งอีเมล์มาที่ givingwikimedia.org) พร้อมแจ้งชื่อ อีเมล์ และหมายเลขโทรศัพท์ (เพื่อเราจะสามารถติดต่อให้คุณทราบได้เมื่อทำการยกเลิกแล้ว)
ฉันจะส่งเช็คไปได้ที่ไหน?
editส่งเช็คไปที่:
P.O. Box 98204
Washington, DC 20090-8204
USA
- Note: donations by check are processed directly at our centralized lockbox location which is in Washington, DC.
ขอเป็นเช็คดอลล่าร์สหรัฐฯ จากบัญชีธนาคารในสหรัฐอเมริกา เช็คในสกุลอื่นหรือจากบัญชีธนาคารอื่นนอกสหรัฐฯ จะทำให้เรามีค่าใช้จ่ายดำเนินการสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้มูลค่าเงินบริจาคของคุณน้อยลงไป ถ้าคุณไม่มีบัญชีธนาคารในสหรัฐฯ คุณสามารถบริจาคผ่านบัตรเครดิต PayPal หรือการโอนเงินทางอื่นซึ่งทำให้เงินบริจาคของคุณมีมูลค่าเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ฉันจะส่งแบบฟอร์ม, จดหมาย หรือวัสดุอื่นๆถึงมูลนิธิวิกิมีเดียได้ที่ไหน?
editการติดต่อทั้งหมด รวมถึงแบบฟอร์มส่วนลดและการจับคู่ Matching Gifts โปรดส่งมาที่:
P.O. Box 98204
Washington, DC 20090-8204
USA
- Note: donations by check are processed directly at our centralized lockbox location which is in Washington, DC.
ฉันสามารถบริจาคหุ้นให้มูลนิธิวิกิมีเดียได้หรือไม่?
editมูลนิธิวิกิมีเดียรับบริจาคเป็นหุ้น คุณสามารถบริจาคโดยโอนหุ้นจากโบรกเกอร์ของคุณมายังโบรกเกอร์ของเรา โดยแจ้งชื่อของเรา หมายเลขบัญชี และเลข DTCC clearing ของเราให้โบรกเกอร์ของคุณทราบ ดังนี้
- Account holder name: Wikimedia Foundation, Inc.
Financial broker: Smith Barney
Investment account number: 546-0356C-14-782
DTCC Clearing account number: #0418
เงินบริจาคของฉันสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?
editโปรดดูที่ รายชื่อประเทศ สำหรับรายละเอียดการขอลดหย่อนภาษี
หากฉันบริจาคเงิน ฉันจะรับใบกำกับภาษีได้อย่างไร?
editถ้าคุณบริจาคผ่าน PayPal หรือบัตรเครดิต คุณจะได้รับใบกำกับภาษีทางอีเมล์ ตราบที่คุณระบุอีเมล์ของคุณไว้ในขณะบริจาคด้วย การบริจาคด้วยเช็คที่มีมูลค่ามากกว่า 50 เหรียญจะได้รับใบกำกับภาษีทางไปรษณีย์ซึ่งคุณต้องแจ้งที่อยู่ให้กับเรา คุณอาจขอใบกำกับภาษีการบริจาคของคุณโดยเขียนถึงเราที่ givingwikimedia.org (โปรดแจ้งที่อยู่ติดต่อกลับของคุณ วิธีที่คุณบริจาค และจำนวนเงินบริจาคด้วย)
ฉันจะระบุเป้าหมายสำหรับเงินบริจาคเพื่ออะไรบางอย่างที่เจาะจงได้ไหม?
editองค์กรการกุศลในสหรัฐอเมริการวมถึงมูลนิธิวิกิมีเดีย จำเป็นต้องเคารพต่อเป้าประสงค์ของผู้บริจาค หมายความว่าถ้าคุณระบุให้เงินบริจาคของคุณนำไปใช้สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง เราต้องทำตามประสงค์ของคุณหรือมิฉะนั้นก็ต้องคืนเงินให้คุณ แต่ก่อนที่คุณจะตัดสินใจทำเช่นนั้น โปรดพิจารณาว่าเงินบริจาคที่ไม่ระบุเจาะจงจะเป็นประโยชน์กับเรามากกว่า การเจาะจงเงื่อนไขใช้งานทำให้เพิ่มภาระงานด้านการบริหารจัดการและต้นทุนการวางแผน ทำให้มีความยุ่งยากซับซ้อนภายในสูงขึ้น
ทำไมจึงกำหนดจำนวนเงินบริจาคขั้นต่ำ?
editจำนวนเงินบริจาคต่ำสุดคือ 1 เหรียญ เรารับเงินบริจาคจำนวนน้อยๆ จากผู้ที่อาจไม่มีเงินมากนัก และเรารู้สึกเป็นหนี้บุญคุณต่อผู้บริจาคเหล่านี้เป็นอย่างสูง โดยสัตย์จริง หากเงินนั้นมีความหมายต่อคุณ มันย่อมมีความหมายต่อเราเช่นกัน แต่ไม่ใช่เรื่องแปลกที่มีคนอาศัยกลไกบริจาคของเราเพื่อทดสอบดูว่าบัตรเครดิตที่ขโมยมานั้นใช้ได้หรือเปล่า คนเหล่านี้จะทดสอบการใช้งานด้วยเงินจำนวนน้อยมากๆ และเราพบว่าจำนวนเงินขั้นต่ำ 1 เหรียญทำให้พวกเขาลังเล
ฉันจะช่วยกระจายข่าวเพื่อช่วยคุณได้อย่างไร?
editโปรดกระจายข่าวออกไปทุกวิธีที่คุณทำได้! บอกเพื่อนและครอบครัวของคุณ บอกพวกเขาว่าวิกิพีเดียมีความหมายต่อคุณอย่างไร ถามพวกเขาว่าเคยใช้หรือเปล่า ถ้าเคย เรามีความหมายต่อเขาไหม โปรดใช้ข้อความต่อไปนี้เป็นลายเซ็นแนบท้ายอีเมล์ของคุณ:
We’ve created the greatest collection of shared knowledge in history. Help protect Wikipedia. Donate now: http://donate.wikimedia.org
นโยบายความเป็นส่วนตัวของผู้บริจาคเป็นอย่างไร?
editเราถือเป็นเรื่องจริงจังที่ต้องรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้บริจาค โปรดดูรายละเอียดที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวของผู้บริจาค กล่าวโดยย่อ เราจะไม่แบ่งปันข้อมูล ขาย หรือแลกเปลี่ยนอีเมล์ของคุณไม่ว่ากับใครก็ตาม
ฉันจะติดต่อมูลนิธิได้อย่างไร?
editหากคุณยังมีคำถามหรือข้อกังวลใจ โปรดติดต่อเราได้ทุกเมื่อ
คำถามเกี่ยวกับการบริจาค โปรดส่งไปที่ donationswikimedia.org
คำถามอื่นๆ ดูรายละเอียดที่หน้า Contact us